วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 8 การตั้งราคา และ นโยบาย และ กลยุทธ์การตั้งราคา

บทที่
การตั้งราคา และ นโยบาย และ กลยุทธ์การตั้งราคา

1.   ความหมายของราคา
ราคา หมายถึงมูลค่าของสินค้าหรือ บริการที่สามารถวัดได้โดยรูปของจำนวนเงินเพื่อก่อให้เกิดการแลก เปลี่ยนในสินค้าและบริการ หรืออาจหมายถึง จำนวนเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น อาจรวมเอา อรรถประโยชน์ด้านอื่น ๆ และมีการบริการที่เหมาะสมเข้าไปด้วย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาจเป็นแบบสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปก็ได้ ศัพท์ที่ควรต้องรู้
-          Utility คือ อรรถประโยชน์ หรือคุณลักษณะของสินค้าที่สร้างให้เกิดความพึงพอใจ
-          Value คือ คุณค่าของสินค้านั้นๆ เมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ
-          Price คือ สิ่งที่วัดได้ด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา
  2.   ความสำคัญของราคา
-เกิดรายได้จากการขาย
-เกิดกำไร
-ขยายกิจการ
            -เพิ่มการผลิต/จ้างงานเพิ่ม
            -ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นั่นคือราคาที่เหมาะสมจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมได้
 3. วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา
-เพื่อผลตอบแทนในรูปของกำไร
-เพื่อทำให้เกิดยอดขายเพิ่มมากขึ้น
-เพื่อรักษาสถานะให้อยู่คงเดิม
 4.   ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจด้านราคา
-ปัจจัยภายใน (Internal Factors) เช่น เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ตันทุน ลักษณะและวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
-ปัจจัยภายนอก (External Factors) เช่น วัตถุดิบ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ การแข่งขันจากบริษัทคู่แข่ง ความต้องการทางด้านจิตวิทยา สภาพเศรษฐกิจ บทบาทของกฎหมายและรัฐบาล
5. นโยบายการตั้งราคา 6 แบบ
-การตั้งราคาเดียวและหลายราคา
-การตั้งราคาสูงเมื่อเป็นผู้ผลิตแบบโมโนโพลี และราคาต่ำเพื่อหวังส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด
-การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา เช่น ประเภทเลขคี่ แบบล่อใจ เป็นกลุ่มสินค้า สินค้าที่แสดงถึงชื่อเสียง และตามความเคยชิน
-การตั้งตามระดับราคา
-การให้ส่วนลด และส่วนยอมให้ เช่น ส่วนลดปริมาณแบบสะสมและไม่สะสม ส่วนลดทางการค้า ส่วนลดเงินสด ส่วนลดตามฤดูกาล ส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการขาย ส่วนยอมให้สำหรับการโฆษณา และ ส่วนยอมให้โดยการนำเอาสินค้าเก่ามาแลก
-ตามหลักภูมิศาสตร์ เช่น การตั้งราคาเท่ากันในอาณาเขตเดียวกัน การตั้งราคาส่งมอบราคาเดียว การตั้งราคาแบบ F.O.B. Shipping Point หรือ F.O.B. Destination Point  การตั้งราคา ณ จุดฐาน
เงื่อนไขสำหรับ FOB ในการกำหนดค่าขนส่งสินค้ามีอะไรบ้าง?
– FOB Shipping Point เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง คือ ผู้ซื้อจะเป็นคนที่ต้องจ่ายค่าขนส่งเอง ส่วนผู้ขายจะเป็นผู้นำสินค้าไปที่ทำการต้นทางในการส่งสินค้าเท่านั้น
– FOB Destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง คือ ผู้ขายจะต้องเป็นคนออกค่าขนส่งเอง

ค่าขนส่งสินค้าที่จ่ายแทนกัน อย่างเช่น FOB Shipping Point ผู้ขายอาจทำหน้าที่จ่ายแทนผู้ซื้อไปก่อนก็ได้ตามเงื่อนไข แม้ว่าผู้ขายจะมีหน้าที่เพียงแค่นำสินค้าไปยังที่ทำการต้นทางในการส่งสินค้าเท่านั้น ส่วน FOB Destination ผู้ซื้อก็สามารถจ่ายแทนผู้ขายไปก่อนก็ได้ แม้ว่าผู้ขายจะเป็นผู้ออกค่าขนส่งก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น